หน้าร้อนมาเยือนจริงจังแล้วเพื่อนๆนักปั่น thaibike.org ในสภาพอากาศที่มีร้อนชื้นสูง แม้เราจะเลือกปั่นในเวลาที่เหมาะแก่การออกปั่นจักรยานก็ตาม ความระอุมาหน้าร้อน เพิ่มจากหน้าร้อนปกติเป็นร้อนระทึก ไม่อายทะเลทราย ชาวthaibike.org เตรียมตัวกันให้พร้อม
1.ปั่นได้แต่ต้องไม่ขาดน้ำ
การไปปั่นจักรยานตากแดดหน้าร้อน เราต้องพกอาวุธประจำกาย คือน้ำ เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของร่างกาย รวมถึงสมองมีส่วนประกอบของน้ำถึงกว่า 90% ในอากาศร้อนระอุแบบนี้ยิ่งทำให้ร่างกายขับเหงื่อออกมาในปริมาณมากและรวดเร็ว ฉะนั้นระหว่างปั่นหากมีอาการกระหายหรือร้อนจนวิงเวียน ควรหยุดพักในที่ร่มสัก 10 นาที และดื่มน้ำทุกครั้งเมื่อกระหายที่สำคัญพกน้ำเผื่อไว้เยอะๆ ยามกระหายจัด
2.สวมเสื้อผ้าสบายๆ
เสื้อผ้าก็สำคัญ ในการปั่นจักรยานหน้าร้อน เลือกที่สามารถระบายความร้อนได้ดี หลีกเลี่ยงการสวมใส่สีดำ แต่ถึงเวลาร้อนจัดควรใช้น้ำเทราดลงบนหัว เพื่อให้เสื้อผ้าอมน้ำ ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายได้เป็นอย่างดี
3.เลือกเวลาที่เหมาะสม
ปั่นจักรยานหน้าร้อน แนะนำเป็นช่วงเวลาเช้าตรู่ที่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้นสาดแสงแรงดุเท่าไหร่นัก อย่างตอน 6 – 9 โมงเช้า หรืออาจจะเป็นช่วงหลังบ่ายสามโมง เพราะแดดกำลังอ่อนแรง ช่วยลดความเสียหายของผิดหนังจากแดดจัดๆ ได้
4.อย่าลืมทาครีมกันแดด
ปั่นจักรยานหน้าร้อน แดดบ้านเราสมควรเป็นอย่างยิ่งกับการทาครีมป้องกันแดด เพราะรังสี UV สามารถทำลายผิวหนังของเราได้ อีกทั้งเป็นบ่อเหตุของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง ก่อนปั่นทุกครั้งจึงต้องไม่ลืมที่จะทาครีมกันแดด ซึ่งแนะนำว่าควรจะมีค่า SPF สูงหน่อย โดยเฉพาะผิวหน้าใช้ SPF สัก 100 สลับกับ 50 เน้นแบบที่กันน้ำ เพราะถ้าใช้แบบปกติทาบริเวณหน้าผาก เวลาเหงื่อไหลเข้าตาจะเป็นอันตราย ส่วนบริเวณแขนกับต้นคอใช้ SPF 60 กำลังดี
ปั่นจักรยานยังไง ให้ป้องกัน “heat stroke”
ด้วยอากาศร้อนจะส่งผลให้ร่างกาย ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนออกสู่ภายนอกได้ทัน อาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า การบาดเจ็บจากความร้อนที่เรียกว่า Heat Illness เพื่อความปลอดภัย ของนักปั่นจักรยาน ควรปฎิบัติตัวง่าย เมือต้องปั่นในหน้าร้อน
1. อบอุ่นร่างกายก่อนการปั่นจักรยานไม่ว่าหน้าไหนๆ การอบอุ่นร่าง
2. เลือกช่วงเวลาในการปั่นจักรยาน โดยไม่ปั่นจักรยาน ในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด
3. เลือกสถานที่ออกไปปั่นจักรยาน ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
4. แต่งกายออกไปปั่นจักรยาน ให้เหมาะสมกับสภาพของอากาศ โดยเลือกสวมเสื้อผ้าที่ระบายเหงื่อและความร้อนได้ดี
5. ทาครีมกันแดดทุกครั้งก่อนไปปั่นจักรยาน หรือไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง นอก จากกันแดดทำร้ายผิวได้ กันน้ำกันเหงื่อให้ได้ด้วยถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นกันสำหรับนักปั่นจักรยาน นอกจาก .PA+++ เลือกที่ป้องกันทั้ง UVA และ UVB และ ค่า SPF เหมาะสม
6. ที่สำคัญที่สุดควรจิบน้ำบ่อยๆ ระหว่างการปั่นจักรยาน เพื่อทดแทนการสูญเสียเหงื่อและป้องกันภาวะขาดน้ำ สาเหตุหลักของการบาดเจ็บจากความร้อนนั้นมักมาจากการที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากจนเกินไป ที่เรียกว่า “dehydration” หรือภาวะขาดน้ำนั่นเอง เพราะอากาศยิ่งร้อน ร่างกายยิ่งต้องมีการขับเหงื่อในปริมาณมากขึ้น เพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายไม่ให้สูงจนเกินไป
ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว การดื่มน้ำเข้าไปทดแทนอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำได้เป็นอย่างดี โดยก่อนออกกำลังกายประมาณครึ่งชั่วโมง ควรมีการดื่มน้ำประมาณ 8-16 ออนซ์ (หรือขนาด 1-2 แก้วปกติ) และในขณะที่ออกกำลังกายควรมีการดื่มน้ำเย็น (ที่ไม่เย็นจัดจนเกินไป) ประมาณ 4-6 ออนซ์ (ครึ่งแก้ว) ทุกๆ 10-15 นาที อย่ารอจนกว่าจะรู้สึกว่าหิวน้ำ เพราะนั่นแสดงว่าร่างกายกำลังเข้าสู่ภาวะขาดน้ำ ถ้ายังไม่มีการดื่มน้ำเข้าไปทดแทนจะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้
การออกปั่นจักรยาน เพื่อออกกายเป็นสิ่งที่ดี แต่จะต้องหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ไม่หักโหมหรือออกกำลังหนักจนเกินไป ก็ไม่ดีนะจ้ะ