fbpx
วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 17, 2024

ชนิดของทางจักรยาน มีกี่แบบ

เส้นทางจักรยาน

กระแสมาแรง การสร้างทางจักรยาน ,ถนนจักยาน, เลนจักรยาน, ไบค์เลน, ก็เพิ่มขึ้นตาม แล้วเรารู้หรือไม่ว่า ประเภทของทางจักรยานมีกี่แบบกัน วันนี้เรานำเสนอให้ชาวthaibike.org ทราบกันจ้า 

ชนิดของทางจักรยาน

ในประเทศออสเตรเลียได้แบ่งทางจักรยานเป็นประเภทใหญ่ๆ 3 ประเภท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของจักรยาน ปริมาณการจราจร และความจำกัดของขอบเขตทาง

 

1. ทางจักรยานแบบปันส่วน (Share Bikeway)

Share Bikeway

ขอบคุณภาพ bikeeastbay.org

ทางจักรยานประเภทนี้ แบ่งส่วนมาจากช่องจราจรของรถยนต์ โดยการตีเส้นหรือทำเครื่องหมายบนผิวจราจรของช่องจราจรที่ได้ออกแบบเผื่อไว้ สำหรับให้รถจักรยานไว้ก่อนแล้ว นั่นคือ ความกว้างของช่องจราจรจะต้องกว้างกว่าช่องจราจรทั่วไปอีกประมาณหนึ่งเมตร 

ทางจักรยานแบบปันส่วน (Share Bikeway) แบบนี้เหมาะสำหรับในบริเวณที่เป็นย่านพักอาศัย หรืออาจจะประยุกต์กับถนนในเมืองก็ได้ หากปริมาณการจราจรไม่สูงมากนัก ทางแบบนี้ประหยัด ให้ความปลอดภัยและสะดวกสบายแก่ผู้ขับขี่พอสมควร ทางจักรยานประเภทนี้หากนำมาใช้ในประเทศอาจมีปัญหา เพราะกลายเป็นที่ทำกินของคนบางประเภท เช่น อู่ซ่อมรถ พ่อค้าแม่ขาย หาบเร่ ฯลฯ

Restricted Bikeway

ขอบคุณภาพ denverurbanism.com

2. ทางจักรยานแบบแยกส่วน (Restricted Bikeway )

ทางจักรยานประเภทนี้ ใช้สำหรับถนนที่มีผิวจราจรหรือเขตทางกว้างพอ โดยกำหนดให้ช่องทางจักรยานอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างของถนนก็ได้ โดยอยู่ระหว่างของทางเท้ากับช่องจอดรถยนต์ (Parking Lane) มีคันหิน (Barrier) กั้นระหว่างช่องทางจักรยานกับช่องจราจรออกเด็ดขาดจากกัน พร้อมทั้งมีป้ายจราจรประกอบด้วย

ทางจักรยานแบบแยกส่วน (Restricted Bikeway) แบบนี้ให้ความปลอดภัยแก่ผู้ขี่จักรยานสูงกว่าแบบแรก แต่บริเวณทางแยกทางข้ามอาจจะจำเป็นต้องเป็นแบบ Share Bike ความสับสนและอุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ ณ บริเวณนี้ จึงจำเป็นต้องใช้ป้ายเตือนหรือป้ายบังคับควบคู่กันไปด้วย แบบนี้เหมาะสำหรับในเมือง ย่านโรงเรียน โรงงาน ฯลฯ แม้ว่าการจราจรจะค่อนข้างมากก็สามารถประยุกต์ใช้ได้

Exclusive Bikeway

 

ขอบคุณภาพ www.villaggiodeifiori.it

3. ทางจักรยานเฉพาะ (Exclusive Bikeway)

แบบนี้ เป็นการแยกทางจักรยานออกจากถนนทั่วไปอย่างเด็ดขาด ให้ความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่จักรยานสูงสุด เหมาะสำหรับบริเวรที่มีปริมาณจักรยานสูง หรือสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พักผ่อน สวนสาธารณะ ฯลฯ อาจให้มีทางคนเดินร่วมด้วยก็ได้ โดยใช้เครื่องหมายจราจรหรือทาสีบนผิวจราจรนั้น สำหรับราคาก่อสร้างแบบนี้ย่อมแพงกว่า 2 แบบแรก

ข้อมูล โดย อ.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ และพรชัย ลีลานุภาพ

เอกสารอ้างอิง:
ธง ชัย พรรณสวัสดิ์ และพรชัย ลีลานุภาพ. (2536). จักรยานกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม.ในองค์กรพัฒนาเอกชนร่วมจัดการสัมมนาสิ่งแวดล้อม ’36, สิ่งแวดล้อม ’36. (หน้า 262). กรุงเทพฯ: สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.

 

FOLLOW US

12,496แฟนคลับชอบ

เรื่องน่าสนใจอื่นๆ