หน้าฝนมาแล้ว ชาว thaibike.org เตรียมตัวกันหรือยัง กับการปั่นจักรยานหน้าฝนที่กำลังมาเยือนบ้านเราอีกรอบ ก็ถ้าใจยังไหว ไม่อยากจะปั่นเทรนนิ่งอยู่บ้านแล้วล่ะก็ เรามาเตรียมความพร้อมของจักรยาน ที่จะออกไปลุยปั่นหน้าฝนกันดีกว่า
via :DuVine
เตรียมความพร้อมของจักรยาน
- ยางที่ใช้กับจักรยาน ต้องเหมาะสม กับสภาพถนนหน้าฝน เพราะหลังฝนตก ถนนเปียก ลื่น และจะลื่นมากกว่าปกติตอนฝกหยุดใหม่ๆ เพราะเกิดการไปทำให้ ไขมันและคราบน้ำมันบนถนน เกาะถนนถนนลอยขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนลาดยาง ถ้าถนนนั้น มีฝุ่นหนรือดิน ยิ่งลื่นเพิ่มขึ้นไปอีก
ยางที่ใช้ควรจะเลือก ใช้แบบที่มีดอกยางเพื่อช่วยแรงเสียดทานระหว่างล้อรถกับถนน ทำให้ไม่ลื่น หน้ายางควรกว้างขึ้นกว่าปกติ
- การเติมลมยางจักรยาน ยางที่เติมไว้ตึงสุดๆ ก็จะเกาะถนนได้น้อย เราเลือกเติมลมยางไว้ในระดับที่ต่ำสุดในช่วงหน้าฝนแรงดันลมไว้ที่แก้มยาง เช่น 35-65 PSI หรือ 60-90 PSI (Pound per Square Inch) เติมไว้ที่ 60 ปอนด์ และสูบลมให้น้อยกว่าที่กำหนดทำให้ปั่นช้า แต่ ช้าหน่อย แต่ปลอดภัย นะจ้ะ
- บังโคลนจักรยาน พระเอกออกงานบ่อยหน้าฝน งานนี้ ติดเพื่อตัวเอง และเพื่อนร่วมถนนเลยทีเดียว ป้องการดีด กระเด็นอันควบคุมทิศทางไม่ได้ ของ น้ำ โคลน จะกระเด็นขึ้นใส่ หลัง ผม ตัวรถของเรา ยังไม่กระเด็นไปสู่เพื่อนที่ตามหลังมา แม้ความจริง ไม่ค่อยจะได้ติดบังโคลนกัน ก็เพราะรถเสือหมอบสำหรับทำความเร็วมักจะไม่ได้ออกแบบมาเผื่อการยึดติดบังโคลน
- ไฟหน้า และ ไฟท้ายจักรยาน เพื่อส่องสว่างให้เราเห็นได้ชัดในหน้าฝน ถีงเราจะไม่ไปปั่นตอนฝนตก แต่งการปั่นหลังฝนตก หรือก่อนฝนตก การมองเห็นชัดเจนขึ้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ยิ่งสภาพถนนหลังฝนตก นอกจากนั้น ยังให้ผู้ร่วมถนนเห็นเราได้ชัดเจน เพื่อ ความปลอดภัยเช่นกัน
- โซ่ ควรใช้น้ำมันหยอดโซ่จักรยาน แบบเปียก ที่ออกแบบมาให้ใช้ในช่วงหน้าฝนโดยเฉพาะ
- ตรวจเช็คระบบเบรค โดยการหมุนล้อแล้วกำเบรคดูว่ามีการทำงานผิดปกติหรือไม่ ทั้งล้อหน้าและล้อหลัง
ในตำราเมืองนอกอาจจะบอกการเตรียมตัวในการปั่นจักรยานหน้าหนาวไว้ แต่เราต้องเข้าใจและปรับเปลี่ยนเมื่อเกิดขึ้นที่บ้านเรานะจ้ะ เพราะฝนบ้านเราตกลงมา แล้ว ไม่ได้หนาวเข้าหัวใจ เหมือนเมืองนอกเขา ฝนบ้านเราตรงกันข้ามถ้าออกไปปั่นจักรยานหลังฝนตก จะรู้สึก ความเย็นชุ่มฉ่ำทำให้ปั่นได้สบายขึ้นหลังฝนตก แต่ฝนคือน้ำเหมือนกันถนนจึงเปียกเหมือนกัน