fbpx
วันเสาร์, พฤศจิกายน 16, 2024

เครือข่าย ผลักดันเส้นทางจักรยานเลียบคลอง ผลักดัน เส้นทางจักรยานเลียบคลองเชื่อมขนส่งสาธารณะ

ขี่จักรยาน

เครือข่าย ผลักดันเส้นทางจักรยานเลียบคลอง ผลักดัน เส้นทางจักรยานเลียบคลองเชื่อมขนส่งสาธารณะ ทางเลือกใหม่ของการเดินทางของคนกรุงเทพฯ

“จราจรติดขัดปัญหาตลอดกาล เปลี่ยนเป็นขี่จักรยานดีกว่า” 

กรุงเทพมหานครในปัจจุบันเมืองที่มีแต่รถยนต์ครองถนน ปริมาณรถที่เพิ่มขึ้นทุกวันจนทำให้เส้นทางสัญจรเป็นเสมือนลานจอดชั่วคราว ในขณะที่คนเดิน ผู้ใช้จักรยาน รถเข็น ต้นไม้ข้างทางถูกเบียดบังจนมีสิทธิบนพื้นที่ทางเท้าน้อยลงทุกที อีกทั้งควันพิษและไอร้อนที่มาจากเครื่องยนต์ทำให้สุขภาพคนเมืองค่อยๆ แย่ลง ฯลฯ การหันมาใช้ยานพาหนะที่ไม่สร้างปัญหามลภาวะ และยังเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางอย่าง “จักรยาน” จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน

ด้วยลักษณะทางกายภาพของเมืองนั้น ถือว่าเหมาะสมกับการสัญจรจักรยานมาก ด้วยพื้นที่ทั้งเมืองไม่ใหญ่เกินไป แต่สภาพทางกายภาพของถนนในกรุงเทพมหานครนั้น ไม่ได้เอื้ออำนวยต่อการใช้จักรยานสักเท่าไหร่ ดังนั้นการสร้างความพร้อมของสาธารณูปโภคที่เอื้อต่อการใช้จักรยานสัญจร อาทิ การปรับปรุงเส้นทางที่มีอยู่เดิมให้ใช้การได้ดี และสำรวจเส้นทาง ลัดที่จักรยานสามารถขี่ผ่านเข้าไปได้โดยไม่ต้องออกถนนใหญ่ อีกทั้งมีทางเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนได้ การสร้างจุดจอดที่ปลอดภัย การมีเครือข่ายเส้นทางเชื่อมต่อทั้งเมือง  มีการแบ่งผิวการจราจร สร้างระบบทางกายภาพให้เกิดอิทธิพลต่อจิตใจและพฤติกรรม อย่างเช่นเลนจักรยาน การออกแบบอาคารให้มีจุดจอดจักรยาน มีทางลาด มีพื้นที่ให้พนักงานเปลี่ยนเสื้อผ้าได้ เท่านี้ก็สร้างแรงจูงใจให้คนหันมาใช้จักรยานได้

“ถนนหมด แต่รถยนต์เพิ่มตลอด”

จากสถิติของกรุงเทพมหานครและกรมการขนส่งทางบก เห็นได้ว่า ในช่วงเวลา 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2552 อัตราการเติบโตของคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 9% และมีแนวโน้มจะหยุดนิ่ง แต่จำนวนรถยนต์กลับเพิ่มขึ้นถึง 32% และคาดว่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการเดินทางในกรุงเทพฯ เป็นรถส่วนตัวถึง 46% ในขณะที่จักรยานที่เป็นทางเลือกของการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว ไม่เบียดเบียนคนอื่น และใช้พลังงานสะอาด

แต่ภาพปัจจุบันที่เราเห็นกันก็คือ “สภาพเมือง”อย่างกรุงเทพมหานคร อำนวยความสะดวกให้กับคนปั่นสองล้อในระดับต่ำกว่ามาตรฐานมาก ถึงแม้ว่าหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พยายามรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้จักรยานในการเดินทางไม่ว่าจะใช้เพื่อเป็นกิจ กรรมสันทนาการหรือใช้เป็นยานพาหนะเพื่อสัญจรอยู่นั้น เราได้ค้นพบว่าสภาพทางกายภาพของถนนในบ้านเราโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครนั้น ไม่ได้เอื้ออำนวยต่อการใช้จักรยานสักเท่าไหร่ เราต้องมาทบทวนถึงเหตุปัจจัยต่างๆของสาธารณูปโภคในบ้านเรากันก่อนว่ามีความ พร้อมมากน้อยแค่ไหนและมีทางเลือกอื่น ๆ อีกไหม การรณรงค์ประชาสัมพันธ์หรือการสร้างสัญลักษณ์ต่างๆ ว่าเส้นทางเหล่านี้เป็นทางจักรยานเพื่อความสะดวกและปลอดภัยของผู้ขับขี่ จักรยาน

“เลนจักรยานบนถนนใหญ่ ความตั้งใจดีที่อาจไม่คุ้มค่า”

ความพยายามในการผลักดันเรื่องเส้นทางจักรยานที่ผ่านมาโดยเฉพาะเส้นทาง จักรยานบนถนนใหญ่ดูเหมือนจะเป็นความหวังของผู้ใช้จักรยานแต่หากวิเคราะห์ถึง สภาพความเป็นจริงแล้วนั้น การลดขนาดของพื้นผิวจราจรของถนนซึ่งปัจจุบันนั้นกรุงเทพมหานครปัญหาเรื่อง จราจรติดขัดเป็นปัญหาอันดับ 1 ที่ต้องการให้เกิดการแก้ไขและยังไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จ ดังนั้นการเพิ่มเลนจักรยานบนถนนนั้นจึงเป็นเรื่องที่อาจจะซ้ำเติมปัญหาการ จราจรหากปริมาณผู้ใช้รถจักรยานยังไม่ได้มีจำนวนปริมาณมากเพียงพอ และอาจทำให้เกิดกระแสต้านจากผู้ใช้รถบนถนนใหญ่ อีกทั้งความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการใช้เส้นทางร่วมกับรถที่ขนาดใหญ่ กว่า ซึ่งผู้ขับขี่จักรยานปัจจุบันนั้นมีทุกเพศทุกวัย หากไม่ได้มีแนวทางป้องกันอย่างดี อาจเกิดอันตรายจากการปั่นบนถนน ดังที่เป็นข่าวได้ยินอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับอุบัติเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิต จากการใช้จักรยานบนถนนจำนวนมาก  และปัจจุบันเลนซ้ายมือสุดของถนน เป็นแหล่งรวมของทุกสรรพสิ่ง ป้ายหยุดจอดรถรับส่ง ของขนส่งมวลชน รถโดยสารสาธารณะทุกชนิด การจอดรถรับส่งของประชาชนโดยทั่วไป ร้านค้า แผงลอย ที่อยู่ริมทางเท้า ที่จอดรถยนตร์ ฯลฯ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของการใช้เลนจักรยานไม่เกิดขึ้นจริงไม่คุ้มค่า และไม่สามารถเป็นเลนจักรยานได้ตามวัตถุประสงค์ของการสร้างเลนจักรยานขึ้นมา สามารถศึกษาปัญหาของเลนจักรยานได้ตามลิ้งค์ด้านล่าง

http://www.tnamcot.com/content/125362

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000099758

 

“กรุงเทพฯ เมืองเส้นทางจักรยานเลียบลำคลอง” ทางเลือกใหม่สำหรับการเดินทางของคนกรุงเทพฯ

จากยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานครที่จะเน้นเรื่องรณรงค์ และปรับปรุงเส้นทางที่มีอยู่เดิมให้ใช้การได้ดี และสำรวจเส้นทางลัดต่าง ๆ ที่จักรยานสามารถขี่ผ่านเข้าไปได้โดยไม่ต้องออกถนนใหญ่ พบว่า กรุงเทพ มหานคร นั้นมีทรัพยากรด้านการคมนาคมมาตั้งแต่โบราณอยู่แล้ว คือ แม่น้ำลำคลอง ปัจจุบันคลองหลายเส้นถูกใช้เป็นเพียงท่อระบายน้ำ ซึ่งหากนำคลองเหล่านั้นมากำหนดเป็นแผนเพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคม (โดยเฉพาะทางจักรยาน) ให้เชื่อมต่อกันไม่เพียงเชื่อมต่อการใช้จักรยานระหว่างคลองสู่ถนน, ระหว่างคลองสู่คลอง, ยังสามารถเชื่อมต่อระหว่างคลองสู่รถไฟฟ้าได้อีกด้วย หากเป็นเช่นนี้เราอาจจะได้พื้นที่เพื่อการสัญจรเพิ่มขึ้นอีกมหาศาลปัจจุบัน คลองบางเส้นก็มีสะพานปูนเรียบคลองกันอยู่บ้างแล้วแต่ก็ไม่มีความต่อเนื่อง เชื่อมโยงมากพอหรือบ้างช่วงก็ชำรุดเสียหาย หากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหันมาให้ความสนใจและผลักดันให้เกิดการบริหาร จัดการที่เป็นแบบแผนมากขึ้น โครงการฯนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยเฉพาะผู้ใช้จักรยานอย่างมาก และหากสามารถทำให้การเดินทางจากบ้านมาสถานีรถไฟฟ้า ไม่จำ เป็นต้องนั่งตุ๊กตุ๊ก หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หากเปลี่ยนเป็นการขี่จักรยานสัก 1-5 กิโลเมตร มาจอดที่สถานี แล้วใช้บริการรถไฟฟ้าไปแทน จะเห็นว่ากรุงเทพมหานครจะเปลี่ยนไปอีกรูปแบบ ที่เห็นคนหันมาใช้จักรยานกันมากขึ้น ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาจราจรที่เราต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เราอาจจินตนาการ การเดินทางโดยจักรยาน จาก มีนบุรี ไป หนองแขม,  สายไหม ไป ทุ่งครุ,  ตลิ่งชัน ไป ลาดกระบัง,  หลักสี่ ไป บางขุนเทียน  โดยแทบไม่ต้องเห็นรถยนต์ รถกระบะ รถบรรทุกเลยสักคัน ไม่ต้องเผชิญมลภาวะทั้งทางอากาศและเสียงจากเครื่องยนต์บนถนนขณะเดียวกัน เป็นการ Promote  การท่องเที่ยว  นึกภาพ นักท่องเที่ยว เที่ยวกรุงเทพ โดยขี่จักรยานเป็นกลุ่ม ไปตามชายคลองต่างๆ  คลองก็จะสะอาดขึ้น  เพราะเรานำคลองมาใช้ ความสุขก็จะเกิดกับคนที่มีทางเลือกมากขึ้น ในการเดินทาง

ติดตามหรือหาดูตัวอย่างเส้นทางเลียบคลองนำร่องที่ต้องการผลักดันได้ที่

https://www.facebook.com/3CProject.BKK/

FOLLOW US

12,496แฟนคลับชอบ

เรื่องน่าสนใจอื่นๆ