จริงๆแล้วช่วงนี้นักปั่นจักรยานหลายท่านอาจจะเจอะคำถาม นอกเหนือจากการปั่นจักรยานคือ “หนักเท่าไร” ไม่ใช้เสียมารยาทถามน้ำหนักตัวกับสาวๆ หรือหนุ่มชาวนักปั่นนะ แต่ถามน้ำหนักจักรยาน กับน้ำหนักเบามาให้ความสำคัญในจักรไปแล้ว ซึ่งเรียกว่าน้ำหนักเบามันแลกมาจากจำนวนเงินไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว“ยิ่งเบายิ่งแพง”
นักปั่นหลายท่านเกิดความสงสัยว่า น้ำหนักเบาของจักรยาน มีผลมากน้อยแค่ไหน จริงแก้ปัญหาที่จักรยาน หรือตัวหนักปั่นดี เราไปดูข้อมูลวิชาการที่ผ่านการทดลองกันเลยดีกว่าจ้า
นาย Lennard Zinn ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลกในการบำรุงรักษา และการซ่อมแซมจักรยาน เขาเป็นช่างจักรยานมีชื่อเสียงระดับโลกได้ให้ความรู้ว่า
“ได้คำนวณแรงต้านที่เกิดจากน้ำหนักของจักรยานที่หนัก 7.7 กิโลกรัม (จักรยานคาร์บอนไฟเบอร์) เทียบกับ จักรย่านน้ำหนัก 13 กิโลกรัม (จักรยานเหล็ก) พบว่าแรงต้านเมื่อปั่นขึ้นเนินนั้น ต่างกันประมาณ 1 กิโลกรัม (เนินชัน 11.3 องศา) “
Zinn ได้ให้ความเห็นว่า แม้จักรยานคาร์บอนไฟเบอร์นั้นจะมีแรงต้านที่เกิดจากน้ำหนักน้อยกว่า แต่ราคาของจักรยานคาร์บอนไฟเบอร์นั้นแพงกว่าจักรยานแบบเหล็กมาก ถ้ายังไม่จำเป็นเลือกซื้อจักรยานคาร์บอนไฟเบอร์ ก็ให้ปรับลดแรงต้านได้โดยการขนของหรือน้ำให้น้อยลง หรือเพิ่มเทคนิคการปั่นเข้ามาช่วย
เดมอน ไรนาร์ด วิศวกรจาก Cervelo ในงาน Eurobike กล่าวว่า
“ถ้าคุณคิดดีๆ ทำไมต้องเลือกระหว่างลดน้ำหนักจักรยานกับน้ำหนักตัว ทำไมไม่ลดสองอย่างเลย? ไม่ว่าน้ำหนักจะหายไปจากคนหรือจากรถ ก็ได้ประโยชน์เหมือนกัน”
ถ้าเทียบน้ำหนักล้อคาร์บอนเบาหวิวราคาเหยียบแสนบาท กับน้ำหนักทั้งระบบ (จักรยาน+คนปั่น) น้ำหนักล้อก็เป็นแค่เสี้ยวเดียวเท่านั้น เช่น 1.2 กิโล (ล้อ) : 75 กิโล (ระบบ) ล้อคู่เดิมของคุณอาจจะหนัก 1.5 กิโลกรัม แต่ 300 กรัมที่หายไปนั้นไม่ได้เป็นผลให้เราขึ้นเขาได้เร็วกว่าเดิมขนาดถึงขั้นแพ้-ชนะ
ที่กล่าวมาคือการยกตัวอย่าง ว่าจริงแล้ว เราควรคำนึงว่าเราปั่นเพื่ออะไร การคุ้มค่าในการปั่นแค่ไหน อันนี้ ก็แล้วแต่ชาว thaibike.org ตัดสินใจจ้า
ข้อมูลวิชาการ จาก Kooduckingtiger,www.alibris.com,gearpatrol.com