fbpx
วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2024

ข้อเข่าเสื่อม ออกกำลังด้วยการปั่นจักรยาน ได้ไหม???

คำถามที่ค้างคาใจสำหรับผู้ที่มีอาการ ข้อเข่าเสื่อมและญาติมิตรคนรอบข้าง ว่า ข้อเข่าเสื่อม ออกกำลังด้วยการปั่นจักรยาน ได้ไหม??? อ่านจากตำรา หรือ ที่หมอหลายท่านแนะนำ ค่อนข้างขัดแย้งกันบางท่านบอกว่าปั่นจักรยานได้ บางท่านบอกไม่ดี จริงเราไปหาคำตอบมาฝากเพื่อนๆ thaibike.orgกันดีกว่าว่าได้ หรือ ไม่ได้

cycling-knee-pain

โรคข้อเข่าเสื่อม Osteoarthritis of the knee

มีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง

        1.  อายุ การเกิดข้อเข่าเสื่อมจะพบมากตามอายุที่เพิ่มขึ้น
        2.  เพศ พบในเพศหญิงบ่อยกว่าเพศชาย
        3.  พันธุกรรม อาจมีคนในครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมร่วมด้วย
        4.  ภาวะอ้วน น้ำหนักตัวที่มากขึ้นทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักและแรงกดทับมากขึ้น
        5.  การได้รับบาดเจ็บ เช่น การมีเอ็นไขว้หรือหมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด หรือมีกระดูกผิวข้อแตก
อาการและอาการแสดงเป็นอย่างไร
        1.  อาการปวด เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักปวดมากขึ้นเมื่อใช้งานและลดลงหลังจากการพัก
        2.  ข้อยึดติด ถ้าเป็นมากมุมของการเหยียดงอเข่าจะลดลง เคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันลำบาก
        3.  ข้อบวม อาจพบเป็นๆหายๆ เกิดจากเยื่อบุข้อมีการอักเสบหรือมีการสร้างน้ำไขข้อเพิ่มขึ้น
        4.  มีเสียงหรือมีความรู้สึกว่ากระดูกเสียดสีกันเวลาเคลื่อนไหวข้อ
        5.  ถ้าเป็นรุนแรง ข้อจะผิดรูป ขาโก่ง
        6.  ข้อหลวม รู้สึกไม่มั่นคงเวลายืนหรือเดิน เนื่องจากเอ็นรอบๆข้อหย่อน
        7.  กล้ามเนื้อรอบๆข้อมีขนาดเล็กลงและไม่มีแรง
บางคนอาจจะคิดว่าการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นจะไม่สามารถออกกำลังกายได้ ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วผู้ป่วยโรคนี้ยังสามารถออกกำลังกายได้ แต่แค่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการออกกำลังกาย และเลือกวิธีออกกำลังกายให้เหมาะสม ที่หมอแนะนำจะเป็นจักรยาน เพราะถ้าผู้ป่วยไม่ออกกำลังกายทำให้โรคอื่นๆกำเริบ เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้
นพ.ชาตรี บานชื่น อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า
การรักษาข้อเสื่อมโดยการไม่ใช้ยาก็สามารถทำได้ โดยการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแลให้มีความเข้าใจในเรื่องของปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค การลดน้ำหนัก กายภาพบำบัดและอาชีวบำบัด และการออกกำลังกาย ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ การอบอุ่นร่างกาย (Warm up) ประมาณ 5 – 10 นาที การออกกำลังกายจริงจัง (Exercise) ประมาณ 20 – 30 นาที การทำให้ร่างกายเย็นลง ( Cool down ) ประมาณ 5 – 10 นาที
ซึ่งผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น ว่ายน้ำ เดิน ปั่นจักรยาน โดยการออกกำลังกายแต่ละครั้ง ควรนานติดต่อกันครั้งละ 20 – 30 นาที สำหรับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายควรเริ่มทำครั้งละน้อย ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นแต่อย่าหักโหม น้ำหนักที่มากเกินไปจะทำให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น ทั้งนี้การออกกำลังกายนับว่าเป็นยาวิเศษขนานแท้ เพราะทำให้เกิดความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อและมวลกระดูก การเคลื่อนไหวของข้อต่อหรือกลุ่มข้อต่อที่มีผลต่อความอ่อนตัว

กิจกรรมที่ไม่ควรกระทำสำหรับผู้ที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม

1.นั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ เพราะข้อเข่าจะงอพับเต็มที่เป็นเวลานาน ๆ กระดูกจะขบกันมาก โดยเฉพาะท่านั่งยอง ๆ น้ำหนักตัวจะกดลงบนหัวเข่าด้วย ทำให้เกิดการเสื่อมเร็วขึ้น มากขึ้น ห้ามนั่งส้วมซึมให้นั่งส้วมชักโครกแทน

2.วิ่งออกกำลังกาย ข้อเข่าเสื่อมแล้วจะได้รับแรงกระแทกจากการวิ่ง 3-10 เท่า ของน้ำหนักตัว จะทำให้ กระดูกอ่อนของข้อเข่าสึกหรอหรือเสื่อมได้เร็วและมากขึ้น

3.การออกกำลังเข่าโดยการย่อตัวแล้วยืนขึ้น หรือแบบสก๊อตจั้มพ์ จะได้รับผลร้ายคือ ข้อเข่าเสื่อมเร็ว มากกว่า ผลดีคือกล้ามเนื้อเหนือเข่าแข็งแรงมากขึ้น

4.การออกกำลังด้วยการขึ้นลงบันได นอกจากข้อเข่าจะเสื่อมเร็วขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้หัวใจวาย เฉียบพลันขณะออกกำลังได้ด้วย

5.ออกกำลังด้วยการขี่จักรยาน ถ้าอานเตี้ย ข้อเข่าจะงอมากทำให้เสื่อมเร็ว หรือถ้าแรงต้านการขี่ จักรยานมาก จะทำให้ข้อเข่าอักเสบได้ง่าย

6.ว่ายน้ำท่ากบ ข้อเข่าจะงอกมากคล้าย ๆ ขี่จักรยาน จะทำให้ข้ออักเสบง่าย

Cr:https://www.epainassist.com,นพ.ชาตรี บานชื่น,นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย

FOLLOW US

12,496แฟนคลับชอบ

เรื่องน่าสนใจอื่นๆ