เราอาจเห็นข่าวการเสียชีวิตของเพื่อนๆนักปั่นกันมาก็หลายครั้ง เชื่อว่าทุกครั้งสร้างความเสียใจให้ครอบครัว ญาติมิตรและเพื่อนๆนักปั่น และไม่มีใครอยากให้เกิด วันนี้ thaibike.org เราจะพาไปทำความรู้จัก ว่าการเกิดอาการตายเฉียบพลัน ในการออกกำลังกาย หรือการปั่นจักรยานนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร เราป้องกันได้หรือไม่ แล้วแก้ไขอย่างไร เราไปดูกัน
เนื่องจาก thaibike.org ไม่ใช่ผู้เชียวชาญทางการแพทย์ จึงขอนำบทความทางการแพท จากหลายทีมารวบรวมให้เพื่อนๆ นักปั่นจักรยานได้รับความรู้เรื่องนี้กัน
จากสถิติส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เสียชีวิตระหว่างการออกกำลังกายหรือภายใน 1 ชั่วโมงหลังการออกกำลังกาย มีสาเหตุจากโรคหัวใจทั้งนั้น ถ้ามีอายุเกิน 35 ปี มักเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตัน และมักมีอาการอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่สนใจ หรือไม่ทราบว่าเป็นอาการที่มาจากโรคหัวใจ เช่น
เป็นโรคหัวใจและมีอาการแน่นท้อง อึดอัดท้องตรงลิ้นปี่ ปกติอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะเป็นอาการแน่น เจ็บกลางอก เหมือนมีอะไรมาทับอก อาการนี้อาจร้าวไปที่คาง กราม ไหล่ทั้ง 2 ข้าง และลงแขนทั้ง 2 ข้าง แต่บางครั้งอาการโรคหัวใจอาจเป็นที่ลิ้นปี่เท่านั้น ทำให้ผู้นั้นนึกว่าตนเองเป็นโรคกระเพาะ จึงไม่ได้ให้ความสำคัญ
ผู้ที่เล่นกีฬาและเสียชีวิตที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปีมักเป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด แต่อาจไม่ทราบ เช่น เป็นโรคที่เกี่ยวกับลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว หรือเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจที่วงการแพทย์รู้จักกันในชื่อของ cardiomyopathy ประชาชนปกติออกกำลังกายและเสียชีวิต ถ้าเป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด เพราะประชาชนธรรมดาอาจไม่ได้ไปพบแพทย์ก่อนการออกกำลังกาย หรือถ้าไปตรวจธรรมดาอาจตรวจไม่พบอะไร โดยเฉพาะถ้าเป็นโรค cardiomyopathy
แต่ถ้าเพื่อนๆ thaibike.org เป็นโรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจอาจมีเสียงที่ผิดปกติของหัวใจเวลาฟัง แพทย์ที่ไม่ใช่แพทย์ทางหัวใจอาจฟังไม่ค่อยเก่ง ประเด็นมีอยู่ว่า ต้องฟังให้ได้ว่ามีเสียงผิดปกติ แล้วส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ เพราะการฟังเสียงที่ผิดปกติ แล้วจะต้องแปลให้ได้ว่าเป็นโรคอะไร อาจยากไปหน่อยสำหรับแพทย์ทั่วๆ ไป แต่อย่างน้อยน่าที่จะรู้ว่ามีเสียงผิดปกติ (ถ้ามี)
ทันโรคทันเหตุการณ์กับแพทยสภา : นายแพทย์พินิจ กุลละวณิชย์ กรรมการแพทยสภา
เรื่องต่อมาที่ thaibike.org จะนำเสนอต่อ หัวใจวาย กับ การปั่นจักรยาน มาจาก บทความโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ได้รวบรวมเป้นหัวข้อชัดเจน
สาเหตุการตายในนักกีฬา และเท่าที่รายงานพอรวบรวมได้ดังนี้
1. ภยันตรายต่อทรวงอกจากสิ่งไร้คม (ร่วมกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน)
2. intramural coronary artery (ร่วมกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน)
3. หลอดเลือดหัวใจแข็ง (conventional artherosclerotic coronary artery disease)
4. หลอดเลือดหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด
5. ภาวะเอออร์ตาฉีก (aorta dissection)
6. กล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (myopericarditis)
7. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา (hypertrophic cardiomyopathy)
8. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy)
9. เนื้องอกหัวใจ (cardiac tumor)
10. โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease)
11. โรคระบบการนำกระแสไฟฟ้าหัวใจ (cardiac conduction system disease)
12. หัวใจเต้นผิดปกติ (primary dysrhythmias)
13. ตกเลือดใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (subarachnoid haemorrhage)
14. เป็นลมแพ้ร้อน (heat stroke)
15. โรคเลือดซิกเคิล เซลล์ (sickle cell trait)
ถ้าพิจารณาสาเหตุการตายโดยดูที่อายุของนักกีฬา อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มดังนี้
กลุ่มอายุน้อย (ต่ำกว่า 35 ปี) มีสาเหตุเรียงจากมากไปน้อยตามลำดับคือ
1. หลอดเลือดหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด (congenital anatomic abnormalities of the coronary arteries)
2. กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ (hypertrophic obstructive cardiomyopathy) ทำให้สูบฉีดเลือดออกจากหัวใจลำบาก
3. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (coronary artery disease) ทำให้เลือดไปเลื้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง
4. ลิ้นหัวใจผิดปกติ (valvular heart disease) ชนิดลิ้นหัวใจไมตรัลปลิ้น (mitral valve prolapse)
5. หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาฉีก (aorta dissection) แล้วมีเลือดเซาะเข้าไปในผนังหลอดเลือด
6. หัวใจโตจากโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ (dilated cardiomyopathy)และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis)
กลุ่มอายุมาก (สูงกว่า 35 ปี) มีสาเหตุเรียงจากมากไปน้อยตามลำดับคือ
1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แข็ง (atherosclerosis) ซึ่งมีประวัติของอาการเจ็บหน้าอก (angina pectoris) หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตาย (myocardial infraction)
2. โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy)
3. โรคของลิ้นหัวใจ (valvular heart disease)
4. โรคของหลอดเลือดเอออร์ตา
5. โรคของระบบนำกระแสไฟฟ้าในหัวใจ (cardiac conduction system disease)
6. โรคหัวใจเต้นผิดปกติเอง (primary dysrhythmias)
การป้องกันของนักปั่นจักรยาน
เนื่องจากการตายฉับพลันในนักปั่นจักรยานพบได้น้อย และส่วนใหญ่ก็มีสาเหตุจากการมีโรคของหัวใจ และหลอดเลือด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องแนะนำและทำการศึกษา นักกีฬาที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่
1. ผู้สูงอายุที่มีประวัติเจ็บหน้าอก หรือเคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน หรือกลุ่มที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ควรจะผ่านการทดสอบการออกกำลังกาย (exercise test) ก่อนที่จะออกกำลังกายหนัก
2. นักปั่นจักรยานที่เคยตรวจพบว่ามีลิ้นหัวใจผิดปกติ ซึ่งอาจจะเป็นลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบหรือหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด ควรจะได้รับการดูแลเป็นกรณีพิเศษ
3. นักปั่นจักรยานที่มีจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ เช่น มีหัวใจห้องล่างเต้นก่อนกำหนด (premature ventricular contraction)
4. ในกรณีที่มีรายการแข่งขันชิงรางวัลควรจะมีการตรวจร่างกายของนักปั่นจักรยานเป็นพิเศษ อาจรวมถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือถ้าผิดปกติมากอาจต้องทำการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงเป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการเตรียมบุคลากร อุปกรณ์ในการช่วยเหลือก่อนเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้น
โดยสรุปแล้ว เนื่องจากผลของการออกไปปั่นจักรยาน จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากกว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย อีกทั้งกล้ามเนื้อหัวใจยังมีความต้องการออกซิเจนลดลงเมื่อเทียบกับน้ำหนักของหัวใจ เม็ดเลือดแดงมีการเรียงตัวและปรับรูปได้ดีขึ้น เกล็ดเลือดจับตัวได้น้อยลง และมีระดับไขมันในเลือดชนิด HDL (high density lipoprotein) เพิ่มขึ้น
จึงทำให้หลอดเลือดหัวใจเกิดการแข็งและตีบช้าลง และทำให้อัตราตายจากโรคนี้ลดลง ดังนั้น การออกกำลังกายจึงมีประโยชน์ แม้ในผู้ป่วยที่มีโรคทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเสี่ยง ลักษณะการออกกำลังกาย ตลอดจนระยะและช่วงเวลาการออกกำลังกายร่วมด้วย โดยต้องดูแลไม่ออกกำลังกายมากจนเกินไป มิฉะนั้นอาจเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตฉับพลันได้
สรุปใจความให้เพื่อๆชาว thaibike.org ง่ายสั้นๆเข้าใจง่ายจากทั้งสองบทความนี้ว่า การออกไปปั่นจักรยาน ควรจะปั่นแต่พอดีไม่หักโหมจนเกินไป และควรตรวจเช็คร่างกายอยู่เป้นประจำตามแพทย์นัด นอกจากนี้ การออกไปปั่นจักรยาน ยังเป้นผลดีต่อหัวใจมากกว่าการไม่ออกกำลังกายนะค่ะ
ขอบคุณข้อมูลทางการแพทย์จาก :ผู้เขียน : นพ.พินิจ กุลละวณิชย์ , นายแพทย์ เชิดชัย ตันติศิรินทร์
ขอบคุณภาพจาก : www.drvinodsharma.com