สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ที่ทั้งเคยปั่นจักรยานอยู่แล้ว หรือ คิดจะมาปั่น เกิดความสงสัยว่า จักรยานกับโรคเบาหวาน มันไปกันได้ไหม ? ในใจขึ้นมา เกิดคำถามคาใจ วันนี้thaibike.org ขอเอาเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง
คนเป็นเบาหวานโดยทั่วไป มักละเลยเรื่องของการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย โดยคิดว่าเมื่อรับประทานยาแล้วก็คงหาย
จากโรค เหมือนโรคทั่วไป ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด การใช้ยาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถควบคุม เบาหวานได้ ต้องรู้จักรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วนกับความต้องการของร่างกายด้วย
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน นอกจากจะให้ความสำคัญ ในการควบคุมอาหารแล้ว การออกกำลังกายก็เป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำเช่นกัน การปั่นจักรยาน จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน และทำให้ร่างกายของเรามีความแข็งแรง ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นให้น้อยลง
แต่ข้อควรระวัง มักมีให้เราคำนึงเพิ่มขึ้นกว่าตอน ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ การฉีกขาดของเส้นเอ็น และรอยฟกช้ำดำเขียว และ บาดแผล อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันความปลอดภัย ต้องเตรียมพร้อม
การปั่นจักรยาน ทำให้การควบคุมเบาหวานง่ายขึ้น และทำให้น้ำหนักลด ถ้าไม่เคยปั่นจักรยานเลยให้เริ่มทีละน้อย ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การคุมเบาหวานดีขึ้นเนื่องจากการเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน [insulin sensitivity] หลังออกกำลังกาย 48 ชั่วโมงร่างกายยังไวต่อ insulin หากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายตอบสนองต่อ insulin ดีขึ้นโดยที่น้ำหนักไม่เปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนในการปั่นจักรยาน
- จะต้อง warm up cool down อย่างละ 5 นาที
- สำหรับผู้ที่ฉีดอินซูลินควรหลีกเลี่ยงการปั่นเวลาที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด
- อินซูลินควรจะฉีดที่หน้าท้อง
- ไม่ควรปั่นกำลังกายหลังอาหารมื้อหนักโดยทันที
- งดออกปั่นเมื่อรู้สึกไม่สบาย
- จับชีพขจรขณะออกปั่นจักรยาน และควบคุมมิให้การเต้นของหัวใจเกินเป้าหมาย
- ควรปั่นไปเป็นกลุ่ม และพกบัตรประจำตัวว่าเป็นเบาหวาน