fbpx
วันเสาร์, มีนาคม 23, 2024

หลายส่วน หารือ กฎหมายเอาผิด “เมาแล้วปั่น”

เมาแล้วปั่น

หลังจากเกิด กรณีมีคนปั่นจักรยาน เมาแล้วปั่น ตำรวจจับ ตรวจวัดแอลกอฮอล์ จนส่งฟ้องศาล ซึ่งศาลได้ยกฟ้อง เนื่องจากไม่มีกฎหมายเอาผิดได้ แล้วเกิดการ ถกเถียงปัญหาว่าจริงๆ แล้วควรมีกฎหมาย สำหรับกรณีคนปั่นจักรยานหรือไม่นั้น ควรมีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ครอบคลุมการปั่นจักรยานด้วย เพราะรถจักรยานไม่ใช่รถในความหมายของ พ.ร.บ. จราจร พ.ศ. 2522 ซึ่งประเด็นนี้ทำให้เกิดข้อถกเถียงเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วปั่นจักรยาน โดยมีอาการมึนเมานั้น ถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ 

นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ไม่ครอบคลุมเรื่องเมาแล้วปั่นจักรยาน เพราะกฎหมายจะเน้นเรื่องการห้ามขายห้ามดื่มมากกว่า หากจะเอาผิดจริง ๆ ก็ต้องเป็นในกรณีขับขี่จักรยานไปด้วยและดื่มไปด้วย จึงจะจับกุมได้ แต่จะไม่ค่อยพบกรณีแบบนี้ นอกจากนี้ การจะเอาผิดอาจจะต้องแก้ไข พ.ร.บ. จราจรทางบก ด้วย เพราะมาตรา 43 วงเล็บสอง ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถขณะเมาสุรา ซึ่งนิยามของคำว่า รถ หมายถึงรถทุกประเภท ยกเว้นรถไฟ รถราง รวมถึงรถจักรยานด้วย แต่ในมาตรา 84 ของ พ.ร.บ. เดียวกันในหมวดจักรยานกลับอนุโลม ไม่ได้ควบคุมตรงนี้

นพ.แท้จริง ศิริพานิช ประธานมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าวว่า ขณะนี้มูลนิธิได้มีการหารือร่วมกับทางสำนักงานอัยการสูงสุด ชมรมจักรยาน และทางหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ว่า จะมีการจัดเวทีเสวนาการผลักดันกฎหมายควบคุมเมาแล้วปั่น ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมการคาดว่าจะจัดงานได้ภายหลัง ต.ค. นี้ เพื่อระดมความคิดเห็นแต่ละภาคส่วน ว่า เห็นด้วยหรือไม่หากมีกฎหมายมาควบคุมการเมาแล้วปั่น ซึ่งในต่างประเทศทั้งญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป มีมาตรการควบคุมในเรื่องนี้แล้ว ซึ่งบทลงโทษจะยึดหลักไม่แตกต่างจากการเมาแล้วขับขี่พาหนะทั่วไป ทั้งรถยนต์ และจักรยานยนต์ โดยประชาชนส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย เนื่องจากเป็นการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของตัวเองและบุคคลอื่น
ด้าน นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ กล่าวว่า จากข้อมูลของมูลนิธิไทยโรดส์ พบว่า จักรยานเป็นพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดเป้นอันดับ 2 รองลงมาจากรถจักรยานยนต์ ซึ่งสูงถึง 75% โดยภาพรวมกลุ่มที่บาดเจ็บมากที่สุดคือ 15 – 19 ปี ส่วนจังหวัดที่มีการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางถนนสูงสุด คือ จ.ระยอง มากถึง 75.78 คนต่อแสนประชากร

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์

 

 

FOLLOW US

12,496แฟนคลับชอบ

เรื่องน่าสนใจอื่นๆ