fbpx
วันพฤหัสบดี, เมษายน 11, 2024

เทคนิคเบื้องต้น ของการปั่นจักรยาน ที่นักปั่นต้องเรียนรู้ บางส่วนได้ด้วยตัวเอง

สำหรับเทคนิคเบื้องต้น  ของการปั่นจักรยาน ที่นักปั่นต้องเรียนรู้ ที่นำเอามาฝากเพื่อนๆ thaibike.org สำหรับนักปั่นที่ฝึกฝนและหมั่นซ้อมอยู่เป็นประจำ ทั้งมือใหม่หัดปั่น มือเก่า มือเก๋า  ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหนก็ตาม เรารวบรวม ข้อจำเป็นต้องรู้ ต้องทำ มาฝากเพื่อนๆนักปั่นกัน 

เทคนิคปั่น

1) การปรับความสูงของอานจักรยาน ของนักปั่น 

ความสูงของอานมีส่วนสำคัญสำหรับความสบาย ปลอดภัยและประสิทธิภาพในการปั่นจักรยาน

  •  การปรับอานจักรยานให้ต่ำจนเกินไป – ถ้าเพื่อนๆ thaibike.org ปั่นระยะใกล้ๆ อาจจะสบายในการปั่น แต่จะเกิดอาการชัดเจน ถ้าเพื่อนๆปั่นจักรยานเป็นระยะทางไกล จะทำให้ปวดเมื่อยหัวเข่าและสะโพกได้ง่าย
  • ใการปรับอานจักรยานให้สูงเกินไป – ขาต้องเหยียดตรงในขณะปั่น จะมีผลทำให้หัวเข่าเกิดอาการเจ็บได้
  • ความสูงของอานที่เหมาะสม – ขณะปั่นจักรยาน ขาที่อยู่ด้านบันใดต่ำสุดควรเกือบเหยียดตรงเท่านั้น (หัวเข่างอเล็กน้อย)
  • วิธีวัดความสูงของอานจักรยานง่าย ๆ คือ นั่งคล่อมบนอานแล้วใช้ส้นเท้าวางลงตรงกลางของบันใดข้างที่อยู่ตำแหน่งต่ำสุด และทำให้ขาเหยียดตรงพอดี แต่ในขณะที่ถีบจะทำให้หัวเข่างอเล็กน้อยเพราะการถีบบันใดจะใช้ส่วนปลายเท้า
  • การเลือกซื้ออานจักรยาน ที่เหมาะกับตัวนักปั่น

อานที่มีรูปทรงที่แตกต่างกัน ออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับประเภทร่างกายที่แตกต่าง เข้ากับร่างกายและท่าปั่นของเราแบบไหน นอกจากนี้เบาะควรเลือกสำหรับผู้หญิงและผู้ชายด้วย

male-female-bones-vert

ความนุ่มของเบาะ

เบาะจักรยานที่แข็งที่สุด (ไม่มีบุฟองน้ำ) จะเป็นเบาะที่เหมาะ ขี่เสือหมอบไสตล์แข่งขันทำความเร็ว ปั่นจักรยานทัวร์ริ่ง จักรยานแม่บ้าน จักรยานพับแฮนด์ตรง เบาะนิ่มสบายกว่า

ความกว้างของเบาะ

การเลือกเบาะหรืออานจักรยานจะต้องให้ความกว้างของเบาะสามารถรองรับกระดูกก้น (Sit Bones) ได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดแรงกดทับ หรือกระแทกจากการปั่น เพราะถ้า Sit Bone ข้างใดข้างหนี่งตกหรือเหลื่อมลงไปจากเบาะขณะกำลังปั่น ความเจ็บปวดก็จะตามมา

เลือกเบาะหรืออานที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับสไตล์การปั่นของนักปั่น ถ้าเป็นไปได้ถ้ามีโอกาสได้ลองก่อนซื้อก็คงจะทำให้เราเลือกเบาะได้เหมาะสมกับเรามากที่สุด
2). การใช้เกียร์

  • การเปลี่ยนเกียร์จักรยาน เปลี่ยนเมื่อบันไดและโซ่เคลื่อนไปด้านหน้าเท่านั้น ห้ามเปลี่ยนตอนหยุดหรือปั่นถอยหลัง หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนเกียร์ขณะขับขี่บนทางขรุขระ หรือชันมาก โซ่อาจเข้าไปตรงเกียร์เข้ายากหรือโซ่ตกง่าย
  •  การเปลี่ยนเกียร์แบบกด (แรปปิดดไฟร์) ก่อนเปลี่ยนให้ปั่นช้าลง แล้วกดปุ่มเปลี่ยนเกียร์ให้ดังคลิ๊ก แช่ไว้สักครู่ (1-2 วินาที) จนโซ่เข้าเฟืองหรือจานแล้วจึงค่อยปล่อยนิ้วที่กด
  •  เกียร์ต้องห้าม คือจานหน้าใหญ่สุดกับเฟืองหลังใหญ่สุด จานหน้าเล็กสุดกับเฟืองหลังเล็กสุด

จักรยาน

3). การใช้เบรคและการจับแฮนด์จักรยาน

  • เมื่อใชเบรคหยุดรถ ควรใช้เบรคทั้ง 2 ข้างพร้อมๆ กัน ไม่ใช้ข้างใดข้างหนึ่ง โดยเฉพาะเบรคหน้า ถ้าบีบแน่นจนเบรคล๊อดล้อ อาจเกิดอุบัติเหตุได้
  •  การจับแฮนด์เพื่อไม่ให้หลุดมือง่าย เมื่อล้อสะเทือน กระแทก โดยไม่รู้ตัว รถล้มเพราะเสียหลัก ให้ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้กำรอบแฮนด์ ส่วนนิ้วที่เหลือควบคุมก้านเบรคหรือมือเบรค หัดให้เป็นนิสัย ใช้ 2 มือควบคุมรถ ไม่ปล่อยมือข้างใดข้างหนึ่งหรือ 2 ข้าง ไม่ว่ากรณีใดๆ อาจเกิดอุบัติเหตุได้

4).เทคนิคการเข้าโค้ง การปั่นจักรยาน ให้ปลอดภัย

  • ทำความเข้าใจกับพื้นผิวถนนที่ปั่นจักรยาน โดยการจดจำ และสังเกตุ อาจจะใช้ได้กับเส้นทางประจำว่า เลนจักรยานที่เราปั่นมีลักษณะอย่างไร มีหลุมรอยแตกตามพื้นผิวถนน ปุ่มสะท้อนแสงกลางถนน หลีกเหลี่ยงได้ดีกว่า
  • นักปั่นจักรยาน ควรเบรคก่อนเข้าโค้ง การปั่นจักรยานที่นักปั่นใช้ความเร็วสูง เทคนิคการใช้เบรคและการเลี้ยวโคง สำคัญไม่ใช่น้อย เกิดจากการฝึกฝน จนชำนาญ ควรเช็ค ระบบเบรค และยางให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
    ควรหาจุดเบรคที่ถูกต้อง และจุดนั้นจะต้องเกิดขึ้นก่อนคุณเข้าโค้ง และอย่าใช้เบรค ขณะที่อยู่ในโค้งจะล้มไม่เป็นท่า ก่อนเท่ห์
  • ปั่นจักรยาน บนเส้นทางที่กำลังลงจากที่สูงชัน หรือ ภูเขา และเป็นเส้นทางที่มีโค้งเยอะๆ หากท่านไม่รู้ลายในการเข้าโค้งท่านจะลงเขาได้ช้ากว่าคนอื่นๆ
  • อย่าปั่นในขณะที่อยู่ในโค้ง อันนี้ใช้เฉพาะการเข้าโค้งที่ความเร็วสูงๆ และจักรยานของเราต้องทำมุมเอียงมากๆ หากเราปั่นขณะที่อยู่ในโค้งมันจะทำให้บรรไดจักรยาน กระทบกับพื้นถนน แล้วทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  • การปั่นจักรยานเข้าโค้งในสภาวะถนนเปียก หรือฝนกำลังตก  ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยางสลิค เป้นไปได้หน้าฝนควรจะเลือกใช้ยางให้ถูกกับสภาพถนน

5). วิธีดื่มน้ำบนจักรยาน

cats

  • จุก ขวดน้ำจักรยานจะมีจุก เพื่อให้นักปั่นงับแล้วดึงออก นักปั่นหลายท่านเข้ใจว่าจุกมีไว้ดูด และทำกันแบบนั้น  จริงแล้ว จุกขวดน้ำจักรยานมีไว้ ที่ถูกต้องนักปั่นจักรยานจะต้องงับแล้วบีบให้น้ำพุ่งออกมาเพื่อดื่มต่างหาก
  • หัดหยิบ และเก็บขวดน้ำโดยไม่ต้องมอง เพราะการละสายตาจากทางที่เราปั่นจักรยานไป ไม่ปลอดภัยแน่ๆ  พยายามทำให้ได้โดยไม่ต้องก้มลงไปมอง หมั่นฝึกฝนและทำความคุ้นเคย
  • ควรสามารถใช้มือที่ไม่ถนัดหยิบขวดน้ำจักรยานได้ เหจุผลมาจากการควบคุม และการเบรค ใช้มือที่ถนดควลคุมจักรยาน ยกตัวอย่างถนัดขวาม หัดใช้มือซ้ายหยิบขวดน้ำเป็นต้น
  • อย่าแหงนหน้า เอียงตัว ยกขึ้นนิดหน่อย เอียงหน้าอ้าปาก แค่นี้น้ำก็เข้าปากได้โดยที่ไม่ต้องเอียงทั้งตัวและละสายตาจากภาพข้างหน้า เวลายกขวดน้ำขึ้นเพื่อดื่มน้ำ หลายๆท่านยกขวดขึ้นตรงๆเบื้องหน้าแล้วแหงนหน้าขึ้นด้านบนเพื่อบีบให้น้ำเข้าปาก และจังหวะนั้นเองที่ท่านอาจมองไม่เห็นภาพเบื้องหน้า หรือแม้แต่หลายๆท่านเสียจังหวะการทรงตัวเมื่อหยิบขวดน้ำแล้วดื่มน้ำ รถส่ายไปส่ายมาเพราะตัวเอียงไปด้านข้าง
  • จัดการขวดน้ำทั้งสองขวด ให้ง่ายต่อการใช้ ท่านหยิบขวดน้ำทั้งสองขวดถนัดไม่เท่ากัน ลองสลับขวดดู

สิ่งที่คุณต้องทำ ก่อนที่ไปปั่นจักรยานครั้งต่อไป

200401751-001.jpg-300x0

1. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนออกไปปั่นจักรยาน  เพื่อที่จะแต่งกายอย่างเหมาะสม คุณจะต้องมีการตรวจสอบสภาพอากาศ จากกรมอุตนิยมวิทยา สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมเป็นพิเศษ เช่น ครีมกันแดด เสื้อกันฝน แว่นตากันแดดที่มาพร้อมเลนส์ตัดแสง ผ้าบัฟ UV หมวกแก็ป ไว้

2.ชาร์จโทรศัพท์ของนักปั่นให้เรียบร้อย เพื่อเกิดเหตุการฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ หรือหลงไปผิดเส้นทาง เป็นต้น

3 .เก็บเงินเงินสดบางส่วนไว้ติดตัวด้วย อาจจะเป็นค่ากาแฟกลางนั่งหรือขนม ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เช่นค่าซ่อมจักรยาน ยางจักรยานแตก รวมไปถึงค่ารถกลับถ้ารถจักรยานไม่สามารถนำกลับบ้านได้

4.เตรียมขวดน้ำปั่นจักรยานของคุณให้เรียบร้อย เลือกขวดน้ำขนาดพอเหมาะ กรอกน้ำให้พร้อม

5.เช็คลมยางรถจักรยานของคุณให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์

FOLLOW US

12,496แฟนคลับชอบ

เรื่องน่าสนใจอื่นๆ