fbpx
วันเสาร์, เมษายน 20, 2024

คุณหมอนักปั่น หมอจุ๊ก ประสบการณ์จริง ในการปั่นจักรยานลดน้ำหนัก

หมอจุ๊ก – พญ. อัญรินทร์ วงษ์จารุวัจน์

คุณหมอสากวนักปั่นคนนี้ เป็นคุณหมอประจำ อยู่ในโรงพยาบาลบ้านเกิดของเธอ กิจวัตรประจำวันคือ การนั่งตรวจคนไข้ เช้าจรดเย็นจนเหนื่อยล้า ประกอบกับการทานอาหารมื้อใหญ่ในช่วงเย็น และการละเลยการออกกำลังกาย

ทำให้น้ำหนักตัวปกติในสมัยที่ยังเป็นนิสิตสาวผอม เพรียว คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ เพิ่มสูงขึ้นมาเป็น 84 กิโลกรัม ตามมาด้วยโรคความดันโลหิตสูง ที่วัดได้ถึง 140/90 มิลลิลิตรปรอท

11222075_882982445104043_7293560690644910589_n

ตอนนั้นจุ๊กอ้วนมาก แต่ไม่เคยมีความคิดที่จะลดความอ้วนเลย จนกระทั่งมีเพื่อนรุ่นน้องมาขอคำปรึกษาในฐานะที่เราเป็นคุณหมอ เกี่ยวกับปัญหาเรื่องการมีลูกยาก ต้องทำอย่างไร? ผลการตรวจร่างกายก็เป็นปกติทุกอย่าง จากการวินิจฉัย พบว่า การมีลูกยากอาจจะมีสาเหตุมาจาก ความอ้วน ที่ทำให้ไข่ไม่ตก เพราะเพื่อนรุ่นน้องคนนี้มีน้ำหนักตัวมากถึง 97 กิโลกรัม จุ๊กจึงแนะนำไปว่า “ต้องออกกำลังกาย”

ตอนแรก ไม่ได้คิดว่าจะลดความอ้วน แค่ปั่นเป็นเพื่อนกันไป บังเอิญปั่นไปได้สักระยะ มีคนมาทัก ว่าหมอดูผอมลงนะ ทั้งๆ ที่เราไม่ได้คุมอาหาร แค่ออกปั่นจักรยานทุกเย็น และปั่นค่อนข้างหนัก ปั่นต่อไปอีกประมาณ 3 เดือน เริ่มมีคนทักกันมากขึ้นว่าหมอผอมลงมากนะ กลับไปชั่งน้ำหนัก ปรากฎว่า หายไป 10 กิโล..โฮ้ย.. หลังจากนั้นเลยมีแรงฮึดขึ้นมาเลย

“…จากที่ปั่นจักรยานและทานอาหารปกติ ก็เริ่มตั้งโปรแกรมควบคุมอาหารให้กับตัวเองและเพื่อน ซึ่งผลลัพธ์ออกมายิ่งทำให้เรายิ้มได้มากขึ้นไปอีก

เพื่อนอาจจะลดได้ช้ากว่าเรานิดหน่อย เพราะเขาอ้วนกว่า แต่เขาไม่ละความพยายาม ต่างคนต่างให้กำลังใจกันและกัน สู้ไปด้วยกัน กติกาง่ายๆ ของเธอ คือ การลดแป้ง เธอเน้นว่าเธอยังคงมีความสุขกับการทานอาหารจานโปรดได้เหมือนเดิม เพียงแต่ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรต และเลือกทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันเท่านั้น ทำให้น้ำหนักตัวของเธอและเพื่อนเริ่มลดลงเรื่อยๆ

หมอจุ๊ก ปั่นทุกเย็นประมาณ วันละ 40 กิโลเมตร ความเร็วประมาณ 30
เส้นทางที่ใช้ปั่นกันในกลุ่ม คือเส้นทางวัดบางลำพู และหาดเจ้าสำราญ-บางแก้ว

คุณหมอจุ๊กเล่าว่า สำหรับคนที่น้ำหนักตัวเยอะๆ พอลดน้ำหนักลงมาได้ระดับหนึ่งจะประสบปัญหาเหมือนๆ กัน คือ น้ำหนักจะไม่ลดลงไปมากกว่านั้นอีกแล้ว เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายเราเริ่มปรับตัวได้ จึงต้องค่อยๆ เพิ่มระดับการออกกำลังกายให้มากขึ้น เช่น เพิ่มจากการปั่นจักรยานเฉพาะช่วงเย็น เป็นการปั่นทั้งเช้า-เย็น เป็นต้น น้ำหนักตัวจึงจะค่อยๆ ลดลงมาได้อีก

การออกกำลังกายด้วยจักรยาน สามารถลดอัตราการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นต่อข้อเท้าของคนอ้วนได้ นอกจากนี้ ผลวิจัยทางการแพทย์พบว่า การปั่นจักรยานหรือออกกำลังกายอย่างน้อย 120 นาทีต่อสัปดาห์ จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานได้ถึง 20 % การปั่นจักรยานจึงเหมาะสมกับคนทุกเพศ ทุกวัย

คุณ หมอสาว นักปั่น แนะนำว่า ควรเริ่มต้นจากการเลือกจักรยานที่เหมาะสมกับประเภทการใช้ จากนั้นก็เริ่ม… เริ่มปั่นออกไปสัมผัสกับประสบการณ์และโลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยความสุข ความสนุกสนาน และมิตรภาพอันอบอุ่นจากผองเพื่อนนักปั่นด้วยกัน

ที่มา I like bicycle

FOLLOW US

12,496แฟนคลับชอบ

เรื่องน่าสนใจอื่นๆ